GREEN DIARY

Home » Uncategorized » ประเภทของรูปแบบการชำระเงินสำหรับการค้าระหว่างประเทศ

ประเภทของรูปแบบการชำระเงินสำหรับการค้าระหว่างประเทศ

payment_met

วันนี้ผมจะพูดเรื่อง ประเภทของรูปแบบการชำระเงินสำหรับการค้าระหว่างประเทศ ผมเชื่อได้ว่าหลายต่อหลายคนมักจะคุ้นเคยกับการโอนเงินหรือไม่ก็เปิด Letter of Credit หรือพูดสั้นๆกันก็คือ L/C จริงๆแล้วมันยังมีอีกอย่างหนึ่งที่เราไม่ค่อยจะคุ้นกันซักเท่าไหร่ คือ B/C หรือ Bill for Collection แถวๆประเทศแถบยุโรปมักเรียกรูปแบบการชำระเงินแบบนี้ว่า CAD มันย่อมาจาก Cash Against Document มันก็คือตัวเดียวกันกับ B/C นั่นเอง สรุปแล้ว รูปแบบการชำระเงินระหว่างประเทศ แบ่งเป็นหมวดใหญ่ๆได้ 3 อย่าง คือ
1.การโอนเงิน หรือที่เราเรียกว่า T/T (Telegraphic Transfer )
2.Bill for Collection หรือเรียกว่า ตั๋ว B/C หรือบางที่แถวยุโรปจะเรียกว่า CAD โปรดเข้าใจว่ามันคือตัวเดียวกัน เวลาเรามาคุยกับธนาคารในไทยก็เรียกมันว่า B/C นะครับเพราะพนักงานธนาคารหลายๆท่านก็ยังไม่ทราบว่ามันคือตัวเดียวกันครับ
3.Letter of Credit หรือที่เราหลายๆคนรู้จักกันดีคือ L/C
เรามาอธิบายความเพิ่มกันซักหน่อยเพื่อความเข้าใจนะครับ
1.การโอนเงิน หรือที่เราเรียกว่า T/T (Telegraphic Transfer)
เป็นการโอนเงินผ่านธนาคาร ปัจจุบันอาศัยระบบเครือข่ายที่เรียกว่า SWIFT ………….. ในที่นี้จะพูดถึงการโอนเงินเพื่อชำระค่าสินค้านะครับ ซึ่งผมจะพูดถึงเรื่องความเสี่ยงด้วย เนื่องจากเมื่อใดก็ตาม ที่เราพูดว่าเราซื้อสินค้าจากต่างประเทศ แน่นอนแหล่ะครับว่ามันต้องมีคนเริ่มก่อน คือ ถ้าผู้ขายไม่ส่งสินค้ามาก่อน ผู้ซื้อก็ต้องโอนเงินไปก่อน ถูกไหมครับ ถึงตรงนี้ต้องพูดเลยว่าใครมี Bargaining power (อำนาจการต่อรอง) มากกว่ากันคนนั้นก็จะได้เปรียบ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ขายมีอำนาจการต่อรองมากกว่าผู้ซื้อ ผู้ซื้อก็ต้องยอมที่จะโอนเงินไปให้ผู้ขายก่อน โดยความเสี่ยงที่เกิดกับผู้ซื้อคือ ผู้ซื้ออาจจะไม่ได้รับสินค้า ในทางกลับกันถ้า ผู้ซื้อมีอำนาจการต่อรองมากกว่าผู้ขาย ผู้ขายก็ต้องยอมที่จะส่งสินค้าให้ก่อน และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับผู้ขายคือ อาจจะไม่ได้รับการชำระเงิน ในศัพย์ธนาคารเรามีการแบ่งแยกและเรียกการค้าเป็น 2 แบบคือ
1.1. T/T Advance Payment หมายถึง ลักษณะการโอนเงินชำระค่าสินค้า โดยผู้โอนซึ่งเป็นฐานะผู้ซื้อจะทำการโอนเงินไปให้ผู้ขายก่อนที่จะได้รับสินค้า
1.2. T/T Open Account หมายถึง ลักษณะการโอนเงินชำระค่าสินค้า โดยผู้โอนเงิน ซึ่งอยู่ในฐานะผู้ซื้อ จะทำการโอนเงินให้แก่ผู้ขาย หลังจากที่ได้รับสินค้าแล้ว

2.Bill for Collection หรือ ตั๋ว B/C หรือบางที่ก็เรียก CAD ( Cash Against Document )
เป็นลักษณะการส่งเอกสารเรียกเก็บเงินผ่านธนาคาร ซึ่งวิธีการนี้จะเป็นการลดความเสี่ยงให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าลงได้เป็นอย่างมาก แต่ถึงอย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าความเสี่ยงจดลดลงแต่มันก็ไม่ได้หมดไป ก่อนจะพูดถึงตรงนั้น เรามาดูวิธีการดำเนินการสำหรับการส่งเอกสารเรียกเก็บผ่านธนาคารกันก่อน
2.1 อย่างแรกสุดเลย ผู้ซื้อและผู้ขายต้องคุยกันก่อนว่าจะส่งเอกสารเรียกเก็บผ่านธนาคารอะไร สมมติว่า เราในฐานะผู้ซื้อสินค้าและได้ทำการตกลงกับผู้ขาย เช่น จีน ว่าจะส่งสินค้าเข้าแล้วนะ แล้วเอกสารต่างๆ เพื่อใช้ในการออกสินค้าและเพื่อใช้ในการจัดการด้านศุลกากรขาเข้าจะส่งผ่านมาทางธนาคาร แล้วก็คุยกันว่าจะส่งมาที่ธนาคารอะไร สมมติ กสิกรไทย ละกัน
2.2 หลังจากที่ได้ตกลงกันแล้วนั้น ผู้ขายที่จีน ก็ได้ นำสินค้าลงเรือ จากนั้นก็รวบรวมเอกสารทั้งหมดที่จำเป็นต้องใช้หรือ เอกสารทั้งหมด ที่ทางผู้ซื้อร้องขอ ก็จะดำเนินการส่งผ่านธนาคารทางประเทศจีน สมมติว่าเป็น Bank of China
2.3 หลังจากที่ธนาคารที่ประเทศจีน Bank of China ( สมมติ ) รับเอกสารแล้วก็ส่งต่อมายังธนาคารปลายทางที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงกันไว้ ( ถ้าผู้ซื้อไม่บอกว่าให้เอกสารเข้าธนาคารไหน ผู้ขายก็ไม่ทราบว่าจะส่งเอกสารผ่านธนาคารไหน มันก็จะล่าช้าไปอีก ) สมมติว่า ให้ส่งมาเรียกเก็บเงินที่ธนาคารกสิกรไทย ( KBank ) เมื่อเอกสารถูกส่งมาถึงกสิกรไทยแล้ว
2.4 ธนาคารกสิกรไทยทำการติดต่อลูกค้า ( ผู้ซื้อ ) ให้มชำระเงินและรับเอกสารไปออกสินค้า
2.5 ธนาคารกสิกรไทย ก็ทำการโอนเงินต่อไปยังธนาคารที่ส่งเอกสารมา
2.6 ธนาคารผู้ส่งเอกสารมา พอได้รับเงินแล้ว ก็นำเงินเข้าบัญชีผู้ขายในลำดับต่อไป

อันนี้เป็น Flow ของประเภทการชำระเงินอย่าง B/C ( Bill for Collection ) หรือ CAD (Cash Against Document) นอกจากนี้ตั๋ว B/C ยังถูกแบ่งย่อยไปอีกดังนี้
1. B/C – Sight ทางธนาคารเราจะเรียกว่า ตั๋ว D/P มันย่อมาจาก Document Against Payment นั่นคือ ผู้ซื้อ จะเอาเอกสารต่างๆ ไม่ออกสินค้าได้ก็ต่อเมื่อจ่ายเงินแล้วก็รับเอกสารไป
2. B/C – Term ทางธนาคารเราจะเรียกว่า ตั๋ว D/A มันย่อมาจาก Document Against Acceptance หมายถึง ผู้ซื้อ จะสามารถเอาเอกสารต่างๆ ไปออกสินค้าได้ก็ต่อเมื่อ ผู้ซื้อลงนาม Accept ตั๋วแลกเงินที่เมืองนอกส่งมาเรียกเก็บ โดยสัญญาว่าเมื่อครบเครดิตเทอมที่ผู้ขายให้กับผู้ซื้อแล้ว ผู้ซื้อจะจ่ายเงินค่าสินค้าเมื่อครบ Credit term นั้น
3. นอกจากนี้ยังมี B/C ประเภทที่เรียกว่า D/P – Term โดยในกรณีนี้ธนาคารเป็นผู้เข้าไปมีส่วนพัวพันกับการชำระเงินเมื่อครบกำหนด โดยธนาคารเป็นผู้ให้สัญญาว่าจะชำระเงินให้เมื่อ Credit Term ครบกำหนดแล้ว ซึ่งต่างจาก 2 ประเภทแรก คือ ธนาคารเป็นเพียงผู้แจ้งและดำเนินการ โดยไม่มีมีส่วนเกี่ยวข้องในการชำระเงินและการเรียกเก็บเงินแต่อย่างใด

ในบรรดาประเภทของตั๋ว B/C ในมุมของผู้ขายแล้ว ตั๋ว B/C – Term เสี่ยงมากที่สุด เนื่องจาก
1. ธนาคารไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจ่ายชำระเงินให้กับผู้ขาย
2. ถ้าหากผู้ซื้อเบี้ยวไม่ชำระเงิน ธนาคารมีหน้าที่แค่ช่วย ติดตามทวงถาม ให้เท่านั้น ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการชำระเงินให้แก่ผู้ขายแต่อย่างใด
ดังนั้น B/C – Term มักจะใช้กับคู่ค้าที่ค้าขายกันมานานแล้ว และไว้เนื้อเชื่อใจกันได้

( รออ่านต่อนะครับ )


Leave a comment