GREEN DIARY

Home » International Trade » SWIFT CODE OR BIC CODE

SWIFT CODE OR BIC CODE

swift

ในสมัยก่อนหน้าที่จะมีระบบโอนเงินผ่านระบบที่เรียกว่า SWIFT เราใช้ระบบที่เรียกว่า Telegraphic Funds Transfer หรือเรียกกันสั้นๆว่า Telex (เทเล็กซ์) หรือเรียกกันว่า T/T (ทีที) (Telex Transfer) ซึ่งเจ้าตัว Telex นี้มีลักษณะการทำงานเหมือนกับการส่งโทรเลขในสมัยก่อน เพราะในสมัยก่อนนั้นระบบคอมพิวเตอร์ยังไม่ได้มีการพัฒนามากมายเหมือนกับในปัจจุบัน ซึ่ง Telex เองนั้นมีมาตรฐานการด้านความปลอดภัยต่ำ รวมถึงประสิทธิภาพการการให้บริการต่ำ สามารถทำรายการได้ไม่เกิน 10,000 รายการต่อวัน เมื่อระบบการสื่อสารและคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว  เหล่าบรรดาสถาบันการเงินหลักๆของโลก 15 ประเทศ 239 ธนาคาร ก็เข้ามาพูดคุยหารือกัน ถึงการพัฒนาระบบการชำระเงินเพื่อการค้าระหว่างประเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ปลอดภัยมากขึ้น รวดเร็วมากขึ้น และมีความแม่นยำ จึงได้มีการร่วมมือกันจัดตั้งสหกรณ์ขึ้นชื่อว่า Automate The Telex เป็นลักษณะการโอนเงินอัตโนมัติที่เรียกว่า SWIFT ย่อมาจาก The Society for Worldwide Interbank Financial Telecommunication เมื่อปี 2516 หรือปี คศ.1973  ผมคิดว่าคงเป็นประเทศแถบๆยุโรปนั่นแหล่ะครับ

สำหรับในประเทศแถบเอเชียนั้นระบบ SWIFT ได้เข้ามาเมื่อปี 2523 หรือปี คศ.1980 มี 2 ประเทศที่เริ่มใช้คือ ฮ่องกง กับ สิงคโปร์ ในปีนั้นเองมีประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้นทั้งหมด 36 ประเทศ 768 สมาชิก ถึงตรงนี้แล้วสมาชิกไม่ได้ถูกใช้แค่คำว่าธนาคารอีกต่อไป นั่นหมายความว่าระบบ SWIFT มีบทบาทที่กว้างขวางกว่านั้น ซึ่งรวมไปถึง สถาบันการเงินอย่างตลาดหลักทรัพย์ สถาบันกองทุน บริษัทขนาดใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามในช่วงนั้นก็ยังมีการติดต่อสื่อสารกันด้วยระบบ Telex กันอยู่ พูดง่ายๆคือใช้ควบคู่กันไประหว่าง Telex กับ SWIFT ประเทศไหนที่มีความเจริญน้อยหน่อยก็ยังคงใช้ระบบ Telex ระบบดั้งเดิม ประเทศไหนที่เจริญมากหน่อยก็ใช้เป็น SWIFT ทั้งนี้นอกจากจะเกี่ยวเนื่องกับการที่ต้องลงทุนด้านระบบแล้วยังเกี่ยวเนี่ยงกับความรู้ความสามารถของบุคลากรด้วย และต่อมาก็ได้ทยอยเปลี่ยนจากระบบ TELEX มาเป็นระบบ SWIFT ผมว่าน่าจะหมดและครบทุกประเทศแล้วมั้งนะครับ ส่วนประเทศที่กันดานหน่อย ที่ยังไม่เปลี่ยนอันนี้ก็ไม่ทราบได้ว่ามีประเทศใดบ้าง และการค้าขายคงยังจะล้าหลังและคงความเติบโตทางเศรษฐกิจที่น้อยอยู่ (ที่มา : http://www.swift.com) โดย SWIFT นั้นเรียกได้ว่าสมาชิกเป็นเจ้าของระบบ สำนักงานใหญ่ของ SWIFT ตั้งอยู่ที่ La Hulpe, ใกล้กับกรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 10,500 สถาบัน ( แบ่งเป็นธนาคาร , สถาบันหลักทรัพย์ และสหบรรษัท(กลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่ที่มูลค่าการค้าที่สูงมาก) ) รวมแล้วมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 215 ประเทศ   จะเห็นว่า SWIFT เป็นเครือข่ายที่ใหญ่มากในโลก (ที่มา www. swift.com)

อย่างไรก็ตาม SWIFTNET ทำหน้าที่แค่เป็นโครงข่ายเชื่อมต่อให้แก่สถาบันการเงินแต่ละสถาบันการเงิน พูดง่ายๆคือ มันคือ IntraNet ระดับโลกนั่นเอง ที่เชื่อมต่อ Server แต่ละ Server ของแต่ละสถาบันการเงิน และสื่อสารกันภายใต้มาตรฐาน ISO9362 แต่ SWIFT ไม่ได้มีหน้าที่ในการชำระเงิน (Settlement) หรือ Clearing มันเป็นแค่ช่องทางการส่งข้อความที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในเวลานี้ ปลอดภัยสุดในเวลานี้

ดังนั้นจะเห็นว่าปัจจุบันเมื่อมีการพูดถึงการโอนเงินข้ามประเทศหรือการโอนเงินไปต่างประเทศนั้นมักจะเรียกกันติดปากว่า T/T (ทีที) หรือบ้างก็เรียก โอนทีที (T/T) และแม้กระทั่งสถาบันการเงินอย่างธนาคารก็ยังคงใช้สัญญลักษณ์ T/T แทนความหมายของการโอนเงิน จะเห็นได้จากเวลาเราไปที่ธนาคารหรือการเข้าไปดูอัตราแลกเปลี่ยนที่เว็บไซต์ของธนาคารต่างๆจะปรากฏพบสัญลักษณ์ T/T หรือบางที่ก็ใช้ตัวเต็มเลยว่า Telex Transfer บนกระดาน เพื่อสื่อความหมายถึงอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับการโอนเงินออกหรือการรับซื้อเงินที่โอนเข้ามา ซึ่งจะปรากฏคู่กับคำว่า Bank Notes   และเวลาเราทำการค้ากับเมืองนอก ผมจักจะเจอเงื่อนไขการโอนเงินว่า T/T 100 % มันหมายถึง ให้โอนเงินก่อนรับสินค้า 100% เลยครับ นี่ขนาดคู่สัญญาต่างประเทศก็ยังคงพูดถึง T/T ในเงื่อนไขการชำระเงิน

จากย่อหน้าที่ 2 จะเห็นได้ว่า SWIFT ไม่เพียงแต่ใช้กับสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารเท่านั้น แต่ SWIFT ยังคงถูกนำมาใช้กับบริษัทที่มีลักษณะเป็นเครือข่ายทั่วโลกและมีขนาดใหญ่อีกด้วย เพราะมีความปลอดภัยที่สูง หรือแม้แต่บริษัทใดก็ตามที่ต้องการใช้ SWIFT ก็สามารถเข้ามาสมัครขอใช้บริการได้ที่ http://www.swift.com

SWIFT คืออะไร ? ที่ผ่านมาดูเหมือนจะกล่าวถึงการสื่อสารด้วย SWIFT แทนระบบเดิมที่เรียกว่า TELEX , แน่นอน มันคือมาตรฐานการสื่อสารใหม่ ที่มีรูปแบบแน่นอน มีแบบแผน มีระบบที่มีความปลอดภัยสูง ส่วนมากแล้วเราโดยทั่วๆไปมักจะคุ้นเคยกับ SWIFT ที่ใช้กับสถาบันการเงินที่เป็นธนาคาร ส่วนสถาบันการเงินที่เป็นพวกตลาดหลักทรัพย์ กองทุน หรือบรรษัทขนาดใหญ่จะไม่เคยเจอดังนั้นจะขอกล่าวเฉพาะเรื่องของ SWIFT ที่ใช้ในสถาบันการเงินทั้งหมดนะครับ เพราะนอกเหนือจากนี้จะไม่ได้เกี่ยวข้องกับเราแต่ลักษณะการทำงานก็คล้ายๆกัน

เมื่อพูดถึง SWIFT เรามักจะนึกถึงสิ่งที่เรียกว่า SWIFT CODE มากกว่ารูปแบบหรือ format ของมัน เพราะนั่นมันไม่ใช่สิ่งที่คุณต้องรู้ แต่สิ่งที่คุณต้องรู้คือ SWIFT CODE คือ ตัวอักษรตัวใหญ่ภาษาอังกฤษจำนวน 8 – 11 ตัว ดังนี้

  • อักษร 4 ตัวแรกบอกถึง หรือเป็นรหัสของธนาคาร (เช่น KASI)
  • อักษร 2 ตัวถัดมา บอกถึงประเทศของธนาคานั้น (เช่น TH)
  • อักษร 2 ตัวถัดมา บอกถึงชื่อเมือง (เช่น BK)
  • อักษา 3 ตัวที่เหลือจะหมายถึงสาขา ถ้าไม่บอกสาขาจะใช้ XXX หมายถึงสำนักงานใหญ่ แต่หาไม่ใส่ก็เป็นที่รู้กันว่าสำนักงานใหญ่

เราลองมาดูกันนะครับ จากตัวอย่างลองรวมตัวอักษรข้างบนดู KASITHBKXXX หมายถึง KASI ธนาคารกสิกรไทย TH ประเทศไทย BK เมืองกรุงเทพ ส่วน XXX นั้นคือเป็นสำนักงานใหญ่ จริงๆเวลาเราไปธนาคารเราบอกแค่ SWIFT 8 ตัวอักษรก็ได้ แต่ถ้าได้ครบ 11 ตัวก็จะมีมากเพราะจะทำให้เงินไปถึงเร็วขึ้นครับ หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง คือ SWIFT CODE – HSBCCNSHKUM เป็น SWIFT ของธนาคาร HSBC BANK (CHINA) COMPANY LIMITED,   HSBC KUNMING BRANCH   โดยที่ 8 ตัวแรกคือ HSBCCNSH คือ CODE ที่บอกว่าเป็นธนาคารอะไร ส่วน KUM เป็นสาขาบอกว่าเป็นสาขาอะไรในที่นี้คือสาขาคุณหมิง หรือบางที่ตัวอักษรตัวที่ 9-11 นั้นอาจเป็นตัวเลขก็ได้ เช่น ABOCCNBJ010 Swift นี้เป็น Code Swift ของธนาคาร THE AGRICULTURAL BANK OF CHINA , BEIJING BRANCH จะเห็นว่า สาขาปักกิ่งนั้นใน SWIFT CODE ตัวอักษรตัวที่ 9-11 ถูกแทนด้วยตัวเลข

บ้างก็เรียก SWIFT CODE ว่า BIC CODE บ้าง ซึ่ง BIC มันย่อมาจาก BUSINESS IDENTIFIER CODE (ที่มา : http://www.swift.com) แต่พอมาใช้กับธนาคารซึ่งเรามักจะคุ้นๆ เราก็แปล BIC ว่า BANK IDENTIFIER CODE ซึ่งมันก็ไม่ผิดหรอก มันยังมีอีกคำย่อเรียกอีกอย่างว่า BEI ย่อมาจาก BUSINEE ENTITY IDENTIFIER อันนี้เราไม่ค่อยจะได้ยินกันซักเท่าไหร่ แต่ก็อาจจะโผล่ๆมาให้เห็นบ้าง

ครับจากที่กล่าวมาเราพอจะเห็นภาพที่ไปที่มาของ SWIFT CODE แล้วนะครับว่ามีหน้าตาเป็นอย่างไร แล้วมันมีกำเนิดขึ้นมาได้อย่างไร แล้วทำไมเวลาเราโอนเงินออกเรามักจะเรียกว่า T/T

มาถึงตรงนี้แล้วผมว่าหลายคนที่เคยมีประสบการณ์ที่โอนเงินไปต่างประเทศ คงจะสงสัยกันอยู่บ้างหลายประเด็น เช่นว่า ทำไมประเทศแถบยุโรปเขาให้แค่ IBAN (อ่านว่า ไอบาน บ้าง ไอแบนบ้าง อิแบนบ้าน ก็สุดแล้วแต่สำเนียงผู้พูดละกัน) ส่วนผมขอเรียกมันนว่า ไอแบน ละกันนะครับ จะขออธิบายเพิ่มเข้าไปเลยละกันนะครับว่า มนุษย์เรานั้นต้องการสร้างความเป็นอัตลักษณ์ สร้างความสะดวกให้หมู่พวก สร้างความชัดเจน หรืออะไรก็ตามเหอะผมว่า แต่สำหรับผมแล้วมันมีประโยชน์หมดแหล่ะ แต่ขอแค่เราผู้ใช้งานมันรู้จัก เข้าใจ และสามารถสื่อสารได้อย่างผู้มีองค์ความรู้

นอกจาก SWIFT แล้วนั้น ยังมีระบบอื่นๆที่ใช้กันเป็นการเฉพาะ เช่น IBAN อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นเดี๋ยวเราค่อยมาดูคำอธิบายกันอีกที แล้วก็จะมี SORT CODE แล้วก็จะมี Fedwire Number แล้วก็จะมี ABA Number มีอะไรอีกหล่ะ …. มี Routing Number มี BSB Number มี IFSC Number มี Transit Number. เฮ่ยยยย หมดยังเนี่ยะ ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าหมดแล้วรึยัง แต่เท่าที่เจอและรู้จักก็น่าจะครบแล้วมั๊งครับ แล้วประเทศไทยหล่ะเราโอนด้วยระบบอะไร ?

 


Leave a comment