GREEN DIARY

Home » International Trade » การโอนเงินไปต่างประเทศทำอย่างไร

การโอนเงินไปต่างประเทศทำอย่างไร

HOW TO

พูดเลยครับว่า หัวข้อที่ใช้อาจจะไม่สื่อให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ที่จะกล่าวหรือเล่าให้ฟังซักเท่าไหร่ครับ   เท่าที่ผมทำงานมาบอกเลยว่ายังมีคนที่มีความรู้ด้านการโอนเงินไปต่างประเทศหรือรับเงินโอนจากต่างประเทศน้อยมาก ผมขอเทียบกับประชากรทั้งหมดนะครับ เพราะเราจะก้าวเข้าสู่ AEC แล้ว และนั่นหมายความว่า มันจะเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับคุณที่ต้องเข้าใจและทราบ เพราะมันคือผลประโยชน์ของตัวคุณเอง

บ่อยครั้งมากที่คนต่างชาติมักจะดูถูกประเทศไทยเวลาไม่ได้ดั่งใจ เอะอะก็ Amazing Thailand. แน่นอนอย่างจะบอกคุณพี่ฝรั่งว่า ยังมีอีกหลายเรื่องที่ You ต้อง Surpriseeeee !!!

OK กลับมาที่ประเด็นของบทความอันนี้ดีกว่า ผมจะเริ่มปูพื้นง่ายๆให้เข้าใจระบบการเงินของโลกกันก่อน ผมมีคำถามขอถามหน่อยว่า

1) เราสามารถถือเงินบาท ไปซื้อกระเป๋าหลุยวิ๊กต๊อง ที่อังกฤษได้มั้ย (ผมหมายถึงธนบัตรเงินบาทไทยนะครับ ถือไปเลย 40,000 บาท) ยื่นให้เขาแล้วบอกว่าจะเอาใบนี้ แล้วจ่ายเงินบาทมูลค่า 40,000 บาท , ได้หรือไม่ได้?

2) คำถามที่ 2 ในทางกลับกันถ้าคนญี่ปุ่นเข้ามาในร้านขายเสื้อผ้า Thai Brand name รู้จักกันและเป็นที่นิยมของประชาชนชามไทยมากเย็บอยู่แถวหมู่บ้านทอผ้ามูลค่าแพงมาก คุณผู้หญิงญี่ปุ่นถือมาเลย 3,000,000 เยน ว้าวตั้งสามล้านแหนะ คุณจะรับไหม

แน่นอน คุณอาจจะบอกว่า ผมบ้าและติ๊งต๊องมากที่ถามแบบนี้ ใครจะไปรับหล่ะ ก็มันจะใช้ได้ยังไง ที่อังกฤษก็ต้องใช้เงิน ปอนด์ สิย่ะ ส่วนที่ไทยก็ต้องใช้เงินบาทสิ นี่คุณจบจากไหนมาเนี่ยะ โคกอีแหล่วยูนิเวอร์ซิตี้ป่าว 555 อั๊ยย่ะ   คำถามนี้ผมกำลังปูพื้นให้คุณเห็นว่าเงินแต่ละสกุลนั้นก็เป็นของประเทศนั้นๆ แต่ก็ไม่แน่นะบางประเทศอาจะมีการจับจ่ายใช้สอบด้วยเงินหลายสกุลเงินปนๆกันก็ได้ เช่นประเทศเพื่อนบ้านของเรา ประเทศลาว บ้านเขานั้นใช้เงินทั้งหมด 3 สกุล มี บาท ดอลล่าสหรัฐ แล้วก็มีกีบ ถ้าไม่ผิดนะอาจจะดองก์มาด้วยแต่ส่วนน้อย มักจะพบแถวที่ทำการค้ากับฝั่งชายแดนติดกับประเทศเวียดนาม บางทีทางชายแดนติดๆกับจีนก็มีหยวนโผล่มา อันนี้ก็ไม่ทราบ แต่สุดท้ายเท่าที่พบจริงมีอยู่ 3 สกุลเงินเท่านั้น คือ บาท ดอลล่าสหรัฐ และกีบ

ล่าสุดมีเรื่องจะเล่าให้ฟัง ผมไปซื้อของใช้ที่บิ๊กซี มุกดาหาร คือจังหวัดมุกดาหารมีพรมแดนติดกับแขวงสะหวันนะเขตของประเทศลาว ซึ่งแขวงนี้เป็นแขวงที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากนครเวียงจันทร์ (บ้านเขาเรียกเวียงจันทร์ว่า เวียนเทียน) ในขณะที่กำลังต่อแถวจ่ายเงินอยู่นั้นปราฏกว่าก่อนหน้ามีแม่หญิงลาวคนหนึ่ง อายุประมาณ 30 ปลายๆ ข้ามมาซื้อสินค้าที่บิ๊กซี แต่ดั๊นไม่ถือเงินบาทมา หรืออาจจะลืมแลกเงินบาทมาจากประเทศลาว เธอต่อรองกับพนักงานอยู่พักหนึ่ง พนักงานบิ๊กซีก็บอกว่าใช้ไม่ได้ เธอก็ว่ามันก็เงินนะ ประเทศลาวก็ใช้เงินอันนี้แหล่ะ

บนห้างบิ๊กซี มุกดาหารมีธนาคารอยู่ 3 ธนาคาร ไทยพาณิชย์ ออมสิน และกรุงเทพ เท่าที่ผมทราบตามกระดานนะ ธนาคารกรุงเทพรับแลกเงินกีบนะสัญลักษณ์ Kpi ส่วนอีก 2 ธนาคารไม่มีประกาศ exchange rate ไว้ก็แสดงว่าไม่รับแลก แต่ ณ โมเม้นนั้นมันคงไม่ทันแล้วเพราะแถวมันยาว ส่วนบัตรเครดิตหรอ คนลาวเขาไม่มีใช้กันหรอกครับ เขาใช้แต่เงินสดซื้อของ ส่วนเงินเชื่อเขาก็ไม่ค่อยมีกันครับ เสร็จปุ๊บเพื่อเธอก็เดินมาพอดี ก็พอได้ยืมกันบาทกันจ่ายชำระ ส่วนผมหรอ มองหา counter อื่นหล่ะ ในใจคิดว่าจะจบมั๊ยวะเนี่ยะ 5555 จะบอกว่าให้พนักงาน Big C โฮลรายการเขาไว้ก่อนแล้วให้เขาเข้าไปแลกที่ธนาคารกรุงเทพแล้วค่อยมาจ่ายชำระเงินสินค้าก็วางไว้ตรงนั้นแหละ แล้วก็โทรเรียกยามมาเฝ้าให้ แต่เธอเลือกที่จะเค้นลูกค้า ไอ้เราก็แปลกใจ เรื่องแค่นี้น่าจะคิดหาทางออกให้ลูกค้าได้นะ เพราะคนลาวซื้อของทีนะคนไทยอายเลย 555 เขารวยนะครับคนที่ข้ามมาซื้อของในประเทศไทยหนะ

เอาหล่ะ ที่เล่ามาก็เพื่อจะบอกเพียงสั้นๆ ว่า เงินของประเทศไหนก็ใช้ในประเทศนั้นครับ  ประโยคสั้นๆตรงนี้แหล่ะมันจะนำไปสู่เงื่อนไขและวิธีการขั้นตอนการโอนเงินในลำดับต่อไป

ครับ ! เงินของประเทศไหนก็ใช้ในประเทศนั้น เหตุผลหนึ่งเพราะทุกประเทศจะมีธนาคารกลางของประเทศ เรียกธนาคารชาติ ของอเมริกาเขาก็มี FED คอยคุมนโยบายการเงินของประเทศ ส่วนของไทยก็มี Bank of Thailand หรือเรียกย่อๆว่า BOT ( www.bot.or.th) ถ้าเป็นญี่ปุ่นเขาก็เรียกกันว่า BOJ ( Bank of Japan ) เป็นต้น สำหรับประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยมีหน้าที่คอยควบคุมนโยบายการเงิน ผ่านมาทางธนาคารพาณิชย์ รักษาสเถียรภาพทางการเงินโดยการออกกฏเกณฑ์ต่างๆ ถ้าต้องการเพิ่มเติมเข้าไปดูที่เว็บไซต์ของ BOT ได้ครับ   ที่ยกประเด็นตรงนี้มาก็เพื่อต้องการบอกว่า ทุกประเทศเขามีการควบคุมปริมาณเงินไหลเข้าไหลออก ทั้งนี้เพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ ดังนั้นเงินบาท ก็จะมีเฉพาะในประเทศไทย และบางส่วนก็จะมีซื้อขายกันในตลาดการเงินนอกประเทศที่เรียกว่า Off shore

เอาหล่ะครับ ทีนี้เข้าสู่เรื่องที่ต้องกรจะกล่าวจริงๆซักที ผมจะบอกอย่างนี้ครับว่า ธนาคารใดๆก็ตามแต่ ผมยกตัวอย่าง ธนาคารกสิกรไทย ละกัน ผมคุ้นเคยกับธนาคารนี้เป็นอย่างดี การที่จะรับซื้อหรือขายเงินสกุลใดผ่านในรูปแบบของเงินโอน การรับเงินโอน ซึ่งไม่เกี่ยวกับรูปแบบของการซื้อขายธนบัตรนั้น จะต้องเปิดบัญชีธนาคารไว้ที่ประเทศที่ใช้สกุลเงินนั้นๆ เช่น ผมยกตารางมาเลยละกัน

ตารางอัตราแลกเปลี่ยนเงิน

ตารางอัตราแลกเปลี่ยนเงิน

ผมขออธิบายตารางก่อนเลยละกันนะครับ คำว่า Bank Buying Rate คืออัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารรับซื้อ นั่นคือเวลาคุณมีเงินโอนมาจากต่างประเทศธนาคารก็จะทำการรับซื้อเงินคุณแล้วเอาเงินบาทให้คุณนั่นเอง   ส่วนคำว่า Bank Selling Rate คือ อ้ตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารจะขายเงินสกุลนั้นให้คุณ โดยเรียกเก็บเงินจากคุณเป็นเงินบาท เช่น คุณจะโอนเงินดอลล่าร์สหรัฐออกไปต่างประเทศ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ คุณจะต้องเอาเงินบาทมาซื้อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ นั้น เท่ากับ 31.95 บาท ส่วนที่เขียนติดกันว่า Bank Note คือ อัตราแลกเปลี่ยนสำหรับ ธนบัตรครับ ( ในส่วนของตารางอธิบายสามารถเข้าไปอ่านความหมายเพิ่มเติมได้ที่บทความเรื่อง ตารางอัตราแลกเปลี่ยน ครับ )

เอาหล่ะที่ยกตารางมาเกริ่นจะสื่อตรงนี้คือว่า อยากให้ดูในส่วนที่ Telex Transfer ในช่อง Bank Buying Rate กับ T/T / Draft / Cheque ในช่องของ Bank Selling Rate ตรงนี้ให้สังเกตุตรง Rate ของประเทศอินโดนีเซีย IDR สกลุเงินรูเปี๊ยะ (Rupiah) จะเห็นว่าแบงค์ไม่รับเงินโอนที่โอนเป็น Rupiah ที่โอนโดยตรงมาจากประเทศอินโดนีเซีย นั่นหมายความว่า แบงค์ไม่ได้เปิดบัญชีเงินรูเปี๊ยะที่ประเทศอินโดนีเซียไว้ แต่แบงค์สามารถขายเงินรูเปี๊ยะเพื่อโอนออกได้ อันนี้จะขอกล่าวในคราวต่อไปเพราะมันจะยืดเยื้อครับ

เอางี้ละกัน ให้ดูช่อง Telex Transfer ในช่อง Bank Buying Rate ถ้าประเทศอะไรไม่มีอยู่ในตรางราง อัตราแลกเปลี่ยนแสดง แสดงว่า ธนาคารนั้นๆ ไม่ได้ไปเปิดบัญชีเงินฝากกับประเทศนั้นๆไว้ ทำให้ไม่สามารถทำการโอนเงินหรือรับเงินโอนสกุลนั้นๆได้ ถึงตรงนี้อาจจะงงนะครับ อธิบายต่อ

สมมติว่า ธนาคาร AA(Thailand) Bank เป็นธนาคารในประเทศไทย ต้องการให้มีการเปิดบริการที่ลูกค้าสามารถโอนเงินไปต่างประเทศได้ด้วยเงินสกุล USD ธนาคาร AA(Thailand) จำเป็นต้องบินไปเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารในประเทศ อเมริกา ในรูปของสกุลเงิน USD ในนามของธนาคาร AA(Thailand) และค้าธนาคาร AA(Thailand) ต้องการให้บริการกับลูกค้าคนไทยอีกว่าสามารโอนเงินเป็นสกุล GBP ออกไปเพื่อซื้อสินค้าที่ประเทศ อังกฤษ ได้ ธนาคาร AA(Thailand) ก็ต้องบินไปเปิดบัญชีที่ประเทศอังกฤษสกุลเงิน GBP   และค้าธนาคาร AA(Thailand) ต้องการให้บริการกับลูกค้าคนไทยอีกว่าสามารโอนเงินเป็นสกุล JPY (เยน) ออกไปเพื่อซื้อสินค้าที่ประเทศ ญี่ปุ่น ได้ ธนาคาร AA(Thailand) ก็ต้องบินไปเปิดบัญชีที่ประเทศญี่ปุ่นสกุลเงิน JPY ดังนั้นถ้าธนาคาร AA(Thailand) ต้องการเปิดบริการโอนเงินสกุลอะไรก็จำเป็นต้องไปเปิดบัญชีสกุลนั้นๆในประเทศนั้นๆ   เราเรียกธนาคารที่ ธนาคาร AA(Thailand) เที่ยวไปเปิดไว้กับธนาคารนั้นๆ ในแต่ละประเทศเหล่านั้น ว่า Nostro Bank มันเป็นคำศัพท์ทางธนาคารหนะนะครับ

ในทางกลับกัน ถ้าหากประเทศสหรัฐอเมริกาต้องการให้ ชาวอเมริกัน สามารถโอนเงินบาทมาให้ญาติคนไทย ธนาคารที่อเมริกาก็ต้องบินมาเปิดบัญชีเงินบาทกับธนาคารในประเทศไทยครับ สมมติว่า ธนาคาร ZZ(America) ต้องการให้คนอเมริกันสามารถโอนเงินบาทเข้ามาที่ประเทศไทยได้ (หมายความว่า .. ผู้โอนทำกาแปลงเงินจาก USD เป็น THB ที่อเมริกา ที่ธนาคาร ZZ(America) แล้วทำการโอนเข้ามาในประเทศไทยเลยนะครับ) และเผอิญว่า ธนาคาร ZZ(America) เปิดบัญชีเงินบาทไว้กับธนาคาร AA(Thailand) อยู่แล้วด้วย ธนาคาร ZZ(America) ก็สามารถโอนเงินบาทเข้ามาในไทยได้เลย ผู้รับเงินคนไทยก็ไม่ต้องแปลงค่าเงินตอนที่จะเอาเงินที่โอนมาเข้าบัญชีครับ

 


Leave a comment